จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

9 เทคนิควิธีการเพาะถั่วงอก

  1. เมื่อจะเริ่มทำการเพาะถั่วงอกควรมีการคำนวณ การใช้เมล็ดถั่วเขียว โดยเทียบบัญญัติไตรยางค์ ซึ่งเกณฑ์การคิดใช้เมล็ดพันธุ์ ถั่วเขียว 1 กิโลกรัม สามารถเพราะเป็นถั่วงอกได้ 5-6 กิโลกรัม โดยถั่วเขียวที่จะนำมาใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้งถั่วงอก ผิวมัน(เปลือกสีเขียว) และถั่วงอกผิวดำ(เปลือกสีดำ) ซึ่งถั่วเขียวทุึกพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย สามารถใช้เพาะถั่วงอกได้ทั้งสิ้น ในอดีตถั่วเขียวที่นิยมใช้เพาะถั่วงอกจะเป็นถั่วเขียวผิวด้าน แต่ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันขึ้นมาหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์อู่ทอง พันธุ์กำแพงแสน และพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ ซึ่งคุณสมบัติของถั่วเขียวผิวดำ เมื่อ เพาะเป็นถั่วงอกแล้วถั่วงอกจะมี สีเขียว กว่า แต่ถ้ใช้ถั่วเขียวผิวมันถั่วงอกที่ได้จะออก เหลืองอ่อนๆ ไม่ขาวเท่าถั่วงอกจากถั่วเขียวผิวดำ
  2. นำเมล็ดถั่วเขียวที่จะเพาะมาล้างในน้ำที่สะอาด โดยใช้ตะแกรงหรือกระชอนช้อนแยกเมล็ดถั่วเขียวที่ลอยอยู่ที่ผิวหน้าน้ำ ด้านบน ออก ไม่ควรนำมาใช้เพาะเป็นถั่วงอก เพราะเมล็ดจะอ่อนเกินไป แต่ผู้ประกอบการสามารถนำเมล็ดที่ลอยน้ำมาแยก ไปตาก แดด ให้แห้ง และนำไปขายใ้ห้กับโรงงาน ทำแป้งจากถั่วเขียวก็ได้ ต้องคัดเฉพาะถั่วเีขียวที่จมน้ำมาเตรียมใช้เพาะ ถั่วงอกเท่านั้น เพราะเป็นเมล็ดที่แก่จัด ซึ่งน้ำที่ใช้แช่ ถั่วเขียวนี้อาจผสมคลอรีนลงไป โดยใช้ความเข้มข้นของคลอรีน 100 พีพีเอ็ม แช่เมล็ด ถั่วเขียวนาน 1-2 ชั่วโมง คลอรีนจะ ช่วยทำความสะอาดเปลือกนอกชของเมล็ดถั่วเขียวที่อาจมีเชื้อรา หรือแบคทีเรียติดมากับ เมล็ดได้สะอาดถึงร้อยละ 95 ถ้าไม่ สามาถหาผลคลอรีนได้ อาจใช้น้ำร้อนผสมกับน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1 ทำเป็นน้ำอุ่น แล้วนำ เมล็ดถั่วเขียวลงแช่นาน 1-2 ชั่วโมง น้ำอุ่นสามารถป้องกันกำจัดเืชื้อโรคที่ติดมากับผิวเมล็ดพันธุ์ ถั่วเขียวได้ถึงร้อยละ 75
  3. เมื่อใส่ถั่วเขียวที่แช่แล้วลงในถังเพาะที่เจาะรู ระบายน้ำแล้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 2-3 มิลลิเมตร เจาะตามแนวเส้น ผ่าศูนย์กลางของรู 2-3 มิลลิเมตร เจาะตามแนวเส้นรอบวงของถัง มีข้อควรสังเกตว่า ขนาดความสูงของถังเท่าใดก็ตาม ต้องใส่เมล็ดถั่วเขียวที่จะใช้เพาะไม่เกิน 1 ใน 3 ความสูงของถังเพาะ เพราะเมื่อถั่วงอกเจริญ เติบโตครบอายุถั่วงอกจะดัน ขึ้นมา เองเป็นชั้นๆ และสูงขึ้นมาไม่เกินขอบความสูงของ ปากถัง การที่ผู้เพาะใส่เมล็ดถั่วเพียง 1 ใน 3 ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วที่ เพาะได้ ล้นหกออกมานอกถังเลอะการทำงานใน ห้องเพาะ เพื่อขนย้ายถั่วงอกออกมาขายจะทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
  4. ถั่วเขียวที่ใส่ลงถังเพาะแล้ว ควรใช้มืิอเกลี่ยผิวหน้าด้านบนเมล็ดถั่วเขียวให้เรียบ ผิวหน้าด้านบนของเมล็ดถั่วเขียวอาจใช้ กระสอบป่าน กระสอบไนล่อนสีส้ม หรือผ้าซาแลน หรือฟองน้ำ ที่ผ่านการนำไปทำความสะอาดโดยการนึ่งฆ่าเชื้อ หรือต้มในน้ำจนเดือดแล้วรอจนเย็น แล้วจึงนำมาคลุมผิวหน้าของถังเพาะถั่งงอกที่ใ่ส่เมล็ดถั่วเ่ขียวลงไปแล้ว
  5. นำถังเพาะไปวางบนอิฐบล๊อคทำเป็นขาตั้งรองถังเพาะถั่งงอกเพื่อ ช่วยในการระบายน้ำและอากาศให้ผ่านเข้าออกทางด้านกัน ถังได้ด้วย หรือถ้าเป็นพื้นของโรงเรือนเพาะถั่วงอก วางแผ่นสำเร็จรูป แบบที่มีช่องระบายน้ำและอากาศแบบพื้นคอกโรงเลี้ยง หมู ก็ได้เช่นกัน ถ้าเป็นพื้นโรงเพาะแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องวางถังเพาะถั่วงอกบนอิฐบล๊อคก็ได้
  6. การรดน้ำถั่วเขียวที่เพาะอยู่ในถังพลาสติก ไห ถังซีเมนต์ ตลอดจนปี๊ปอลูมิเนียม ปริมาณน้ำที่ใช้แต่ละครั้งต้องให้น้ำเพียงพอ ที่จะทำให้ถั่วงอกที่ เพาะไม่เกิดความร้อนสะสมมากเกินไป วิธีสังเกตง่ายๆ ใช้มือสัมผัสดูผิวหน้าเมล็ดถั่วในถังชั้นบนสุดช่วงต่อ ระหว่างแต่ละครั้งของการให้น้ำ้ต้องไม่เกิดสภาพไอร้อนผ่าวขึ้นมา แสดงว่าการให้น้ำแต่ละครั้งจะเพียงพอ เพราะถ้าให้น้ำไม่ เพียงพอและเกิดความร้อนขึ้นในถังเพาะมากมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอกทำให้ถั่วงอกมีรากฝอยมากขึ้น และต้นจะ โต่แบบไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อเพาะถั่วงอกใน ถังพลาสติกควรหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ทั้งกลางวัน และ กลางคืน เพราะถังพลาสติกจะไม่่ค่อยเก็บความเย็นไว้ได้เหมือน ถังซีเมนต์ หรือไห ซึ่งสามารถรดน้ำถังที่เพาะได้ช้ากว่าเป็น ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เพราะถังซีเมนต์เก็บความเย็นจากน้ำได้ดีกว่า ถังพลาสติก
  7. เมื่อเพาะถั่วงอก และถั่วงอกเจริญเติบโตมีรากงอกออกมาเล็กๆ ขนาดความยาวของราก 0.5-1 เซนติเมตร หรือเพาะไปแล้ว นาน 18-20 ชั่วโมง ในเชิงการค้ามีการรดสารถั่วอ้วนเพื่อ เพิ่มธาตุอาหารให้กับถั่วงอกที่เพาะ จะช่วยให้ถั่วงอกมีการสะสม โปรตีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ถั่วงอกอ้วน และมีน้ำหนักดีขึ้น เหมือนกับถั่วงอกที่เพาะขายในเชิงการค้า โดยก่อนการใช สารถั่วอ้วนผสม น้ำรด ควรงดการให้น้ำก่อนและหลังนาน 2 ชั่วโมง เพื่อให้ผิวถั่งแห้งและดูดธาตุอาหารเข้าไปใช้ได้เต็มี และอัตราการใช้สารถั่วอ้วนสามารถใช้อัตรา 1 ซีซี ผสมน้ำสะอาด1 ลิตร หลังจากการรดสารถั่วอ้วนไปแล้ว ก่อนเริ่มรดน้ำใหม่ ควรรดน้ำให้มากกว่าปกติ 5-6 เท่า เพิ่มให้ถั่วขยายขนาดเพิ่มขึ้นผู้เพาะควรผสมน้ำกับสารถั่วอ้วนรดถั่วงอก ที่ เพาะวันละ หนึ่งครั้ง และอย่างน้อยควรรดติดต่อกัน 2 วัน โดยห่างจากการให้ครั้งแรกนาน 24 ชั่วโมง ในกรณีผู้ที่จะเพาะทานเองในบ้าน จะเพาะแบบธรรมชาติไม่รดสารถั่วอ้วนก็ได้ แต่ถั่วงอกที่ได้จะผอมยาว และมีรากฝอยเกิดขึ้นมาก อาจจะไม่สามารถนำไป วางขายในเชิงธุรกิจได้
  8. ถั่วงอก เมื่อเพาะแล้วครบ 68-72 ชั่วโมง ถ้าเป็นการเพาะในฤดูร้อน หรือฤดูฝน สามารถเก็บออกมาขายได้ แต่ถ้าสถานที่ เพาะตั้งอยู่ในที่ที่อากาศเย็นหรือเป็นฤดูหนาว อาจต้องขยายเวลาการเจริญเติบโต ของถั่วงอกเป็น 96 ชั่วโมง จึงจะเก็บไป ขายได้
  9. ถั่วงอก เมื่อจะนำออกขาย ควรนำไปร่อนให้หัวหลุดออก ใช้กระด้งหรือเครื่องร่อนสายพานก็ได้ แต่ถั่งงอกมื่อเพาะแล้วใน สภาพการขายในบ้านเราจะถูกแสงแดด และหัวถั่วงอกสามารถ กลับเขียวขึ้นมาใหม่ได้ ผู้เพาะอาจใช้น้ำผสมสารส้มขุ่นๆ รดใน น้ำ สุดท่้ายก่อนเก็บถั่วงอกออกมาขาย แ่ต่ป้องกันการเปลี่ยนสีของหัวถั่งงอกได้ในช่วงสั้นๆ ในเิชิงการค้ามีการใช้สารฟอกสี ประเภท โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ จะปลอดภัยมากกว่าการใช้สารฟอกประเภทโซเดียมโฮโดรซัลไฟต์ เพราะสารประเภท หลังส่วนใหญ่ใช้ในธุรกิจฟอกย้อมอวนมากกว่า และภาคราชการไม่แนะำนำให้นำเอาสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์มาใช้กับ ธุรกิจประเภทอาหารในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการควรใช้สารโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ในระดับต่ำและไม่เกินค่าความปลอดภัย ผสมน้ำรดถั่วงอกในน้ำสุดท้ายก่อนนำออกจำหน่าย เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วงอกเปลี่ยนสี หรือคล่ำลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น