จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ถั่วงอก.........มีประโยชน์มากมาย

ถั่วงอก เป็น ผักสุขภาพพลังชีวิต ก็เพราะในกระบวนการของการงอกของเมล็ด (germination) เป็นการสร้างชีวิตใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในตัวเมล็ดเพื่อสร้าง อาหารหล่อเลี้ยงต้นอ่อนที่กำลังงอกขึ้นใหม่ โดยทั่วไป เมล็ดถั่วทุกชนิดมีโครงสร้างทางภายภาพคล้ายกัน เนื้อหรือเนื้อเยื่อ (cotyledon) เป็นองค์ประกอบใหญ่ของเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารสะสมเพื่อหล่อเลี้ยงการงอกต้นอ่อน อีกนัยหนึ่งในกระบวนการงอก เนื้อเยื่อเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นใบเลี้ยง  ส่วนชีวิตใหม่ที่งอกขึ้นมาเกิดจากการเติบโตต้นอ่อน หรือ embryo ซึ่งมีรากอ่อนต่อกับสะดือ หรือ hilum  โครงสร้างส่วนสุดท้าย คือ เปลือก (seed coat) ที่ห่อหุ้มป้องกันต้นอ่อนและเนื้อเยื่อภายใน

            นอกจากสารอาหารที่เก็บไว้แล้วเมล็ดถั่วสดยังมีสารต่อต้านการย่อย (protease inhibitors) ทำให้มนุษย์หรือสัตว์ไม่สามารถกินถั่วดิบๆ เพราะกินเข้าไปแล้วก็ย่อยไม่ได้ หรือย่อยยากมาก ทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย นี่เท่ากับเป็นหลักประกันให้ถั่วมีโอกาสงอกใหม่ ไม่สูญพันธุ์ นอกเสียจากว่าจะถูกนำมาต้มสุกกินกันจนหมดโลก เพราะสารเหล่านี้ถูกทำลายไปได้ด้วยความร้อน หรือไม่ก็นำมาเพาะเป็นถั่วงอก เพราะเมื่อถั่วงอกขึ้น สารต้านการย่อยก็มีอันเสื่อมสลายหนีหน้ากันไป ราวกับรู้ว่าบัดนี้หมดหน้าที่ของตนเสียแล้ว นอกจากนั้น ถั่วยังมีแป้งบางชนิดที่ย่อยยาก แม้กินสุกก็ยังย่อยยาก ทำให้เกิดแก๊สที่ลำไส้เล็กและผายลมส่งกลิ่นรบกวนผู้อื่น แต่ในถั่วงอกไม่มีปัญหานี้เพราะในกระบวนการงอก แป้งเหล่านี้ได้ถูกย่อยแปรสภาพไปเป็นน้ำตาลกลูโคสเสียเกือบหมด

            เมล็ดถั่วแห้งหรือเมล็ดพันธุ์ทั่วไปจะสามารถมีชีวิตสงบนิ่ง รอเงื่อนไขการงอกและเติบโตใหม่ได้เป็นปี หรือมากกว่านั้นหากเก็บไว้ในสถานที่เหมาะสม แต่ทันทีที่ได้น้ำ ดูดซับน้ำเข้ามามากพอ (ราวร้อยละ 50-80 ของน้ำหนักแห้ง)  กระบวนการเคมีเพื่อสร้างชีวิตก็เกิดขึ้น โดยต้นอ่อนใช้ออกซิเจนที่ผ่านเข้ามา ทำปฎิกริยาย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันในเนื้อเยื่อ (catyleon) ออกมาใช้ เกิดรากงอกออกมาทางสะดือ แล้วต้นขึ้นเป็นลำต้นภายในเวลาไม่กี่วัน  กรณีถั่วงอกทั่วไปส่วนของเนื้อ เยื่อได้กลายเป็นใบเลี้ยง โดยปกติการเพาะถั่วงอกจะทำในที่มืดเพื่อบังคับให้ต้นอ่อนใช้อาหารจากเนื้อ เยื่อเป็นหลัก รากถั่วหยั่งลงล่างและดันหัวให้งอกสูงขึ้นเพียงประมาณ 3-5 วันก่อนที่จะมีใบเขียวก็ถอนกินเป็นถั่วงอก แก่เกินกว่านี้ลำต้นจะเริ่มแข็งเข้าสู่การเป็นต้นไม้หมดสภาพความเป็นถั่วงอก แต่ถ้าหากเป็นเมล็ดงอกอื่นๆที่มิใช่ถั่ว เช่น โต้วเหมียว ส่วนที่งอกขึ้นมาเป็นลำต้นอ่อนซึ่งมีใบเขียว หัวกับรากยังอยู่ด้านล่าง เมื่อโตพอควรก็เพียงตัดต้นอ่อน ปล่อยให้แตกออก
  ประโยชน์
             สารอาหารที่ย่อยแล้ว
  กระบวนการงอกทำให้โมเลกุลของสารอาหารในเมล็ด เปลี่ยนแปลงไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย โปรตีนเป็นกรดอะมิโนแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคลส และไขมันเป็นกรดไขมัน เพราะกระบวนการงอกได้ช่วยย่อยสารอาหารมาแล้วชั้นหนึ่ง  ถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมาก เท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยาหาร ลดของเสียและสิ่งตกค้าง (toxin) ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ร่างกายจึงเสื่อมช้า ไม่แก่เร็ว
           ถั่วงอกย่อยง่ายจะมีความสำคัญสำหรับใครแค่ไหน ต้องพิจารณาแบบแผนการกินโดยรวมของผู้นั้นประกอบไปด้วย คิดแต่ถั่วงอกแต่เดียวโดดๆ ไม่ได้สำหรับนักมังสวิรัติถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ประสานสอด คล้องกับผักและอาหารมังสวิรัติอื่นๆ ในทิศทางที่เกื้อต่อสุขภาพโดยรวม หากผู้ใดมีแบบแผนการกินที่พาเอาแต่อาหารย่อยยาก
อาหารมีพิษเข้าร่างกายการกินถั่วงอกในบางครั้งก็ไม่มีทางแก้ร้ายให้เป็นดี ถั่วงอกมีโปรตีนสูงกว่าถั่วธรรมดาหรือไม่ นักนิยมถั่วและเมล็ดงอกมักอ้างว่า กระบวนการงอกทำให้ปริมาณโปรตีนมีสูงขึ้น แต่หลักฐานสนับสนุนยังไม่แข็งแรงมีน้ำหนักนัก ผลการวิจัยที่ยอมรับกันกว้างขวางมีเฉพาะเมล็ดข้าวโพดงอก ซึ่งพบว่าการงอกทำให้มีกรดโปรตีนที่จำเป็นสำหรับร่างกายเพิ่มมากขึ้น (  กรดไลซินและไตรโทปัน ซึ่งไม่พบในเมล็ดข้าวโพดแห้ง  )   อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่าโดยทั่วไปโปรตีนของถั่วงอกมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย (  จาก 2% เป็น 5%  )
            วิตามินและเกลือแร่ 
 โดยทั่วไปถั่วงอกมีวิตามินเพิ่มมากขึ้น ที่เห็นชัดที่สุดก็คือวิตามินซี  ถั่วและเมล็ดงอกทุกชนิดมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าเดิม 3-5 เท่า นอกจากนั้นการงอกยังทำให้เกิดวิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตและซ่อมแซมเซลส์  ปกติวิตามินบี 12 มักพบในผลิตภัณฑ์สัตว์เท่านั้น เปรียบเทียบกับผักอื่นๆถั่วงอกมีธาตุเหล็กซึ่งร่างกายย่อยได้มากกว่า ในระยะหลังๆ พบว่าวิตามินบี 17 ในถั่วงอกอาจช่วยป้องกันและรักษามะเร็งได้ แต่นี้ก็ยังไม่เป็นข้อสรุปเด็ดขาดที่ยอมรับกันทั่วไป  สุดท้ายถั่วงอกมีสาร เลซิติน (lecithin) ซึ่งช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง
                ชะลอความแก่
  ถั่วงอกสดๆ มีพลังชีวิตซึ่งทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่แก่เร็ว ถั่วงอกมีสารต้านความแก่ชื่อ ออซินัน (auxinon) จึงช่วยให้ร่างกายเป็นหนุ่มสาวได้นาน ไม่แก่เกินวัยอย่างไม่สมควร  กระแสการกินถั่วงอกทั้งในต่างประเทศและในประเทศ โดยเน้นให้เพาะถั่วงอกกินเองด้วย เพราะถั่วงอกเป็นผักที่ปลูกง่ายที่สุด ได้ผลเร็วที่สุด เพาะถั่วงอกกินเองนอกจากปลอดภัยไร้สารพิษแล้ว ยังทำให้มีสติ เกิดฉันทะในการกินเพื่อชีวิตและจิตวิญญาณอันงดงาม นอกจากนั้นยังเป็นโอกาส ได้กินถั่วและเมล็ดงอกแปลกๆที่ยังไม่นิยมเพาะเป็นการค้า เช่น ถั่วแดงงอก ถั่วลิสงงอก เป็นต้น
      
  ในปัจจุบัน ถั่วและเมล็ดงอกที่เพาะขายเป็นการค้า มีชนิดสำคัญๆ คือ

          ถั่วงอก
  มีทั้งที่เพาะด้วยถั่วเมล็ดเขียวและเมล็ดดำ เพาะง่ายได้ผลเร็ว ประมาณ 3 วันก็ได้กินแล้ว ถั่วงอกมีรสกรอบ มีวิตามิน และเกลือแร่สูง
          ถั่วงอกหัวโต หรือ ถั่วเหลืองงอก
  ใช้เวลาเพาะนานวันกว่าถั่วงอก มีกลิ่นถั่วและเนื้อกระด้างกว่าถั่วงอก หัวแข็งแต่มัน ถั่วเหลืองงอกมีโปรตีนและไขมันสูง
          โต้วเหมียว 
 เพาะจากเม็ดถั่วลันเตา หวานกรอบ รสเหมือนถั่วลันเตา ใช้เวลาเพาะประมาณ 10 วันก็ได้ต้นอ่อนที่เก็บกินได้ โต้วเหมียวมีวิตามินบี และวิตามินซีสูง
          ไควาเระ 
 เพาะจากเมล็ดหัวไชเท้า รสกรอบ หวานซ่าเล็กน้อย มีวิตามินเอ วิตามินซี และโปแตสเซียมสูง ไควาเระนิยมใช้ร่วมกับถั่วและเมล็ดงอกอื่นๆ
          อัลฟาลฟา (Alfalfa) 
 เพาะจากถั่วลันเตาชนิดหนึ่ง อัลฟาลฟางอกนิยมใช้เป็นผักสลัดในตะวันตกมาก่อน แล้วแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ อัลฟาลฟางอกมีโปรตีนและวิตามินบีสูง
        
          ถั่วแดงงอก
  เพาะจากถั่วแดง หรือ adzuki beans เพาะง่ายเหมือนถั่วเขียวงอก ถั่วแดงงอกมีหัวโต ช่วยให้กรอบมัน adzuki bean แปลว่า "ถั่วแดง" แรกมีในญี่ปุ่น  จีนและญี่ปุ่นนิยมนำมาทำขนมหวาน แต่นักมังสวิรัติในตะวันตกนิยมกินถั่วแดงเป็นอาหารโปรตีน เมื่อตื่นตัวเรื่องถั่วงอก ซึ่งได้รับความนิยมมากทีเดียว คนไทยน่าจะลองเพาะถั่วแดงงอกกินบ้าง
          ถั่วลิสงงอก
  กรอบอร่อย มีรสมัน ถั่วลิสงเพาะยากกว่าถั่วอื่นๆ เพราะขึ้นราได้ง่าย ดังนั้นถึงแม้จะอร่อยมาก แต่กลับมีคนเพาะขายกันน้อย คนปักษ์ใต้คุ้นเคยกับการกินถั่วลิสงงอกมากว่าใคร
          ถั่วดำงอก 
 กรอบ มัน รสดี ไม่มีกลิ่นถั่ว
          งางอก 
 เพาะจากเมล็ดงาได้ไม่ยาก รสกรอบ และขมเล็กน้อย งางอกมีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุสูง
          เมล็ดทานตะวันงอก
  เมล็ดเพาะได้ง่ายโดยแกะเปลือกออกก่อน เมล็ดทานตะวันงอกมีกรดไขมันดีในปริมาณสูง


http://saya.exteen.com/20071025/entry

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น