จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ถั่วงอก

ชื่อวิทยาศาสตร์    Vigna radiata (L.)
วงศ์                  Fabaceae

ชื่อสามัญ          mungbean seedling
 
ประโยชน์ :
กระบวนการงอกทำให้โมเลกุลของสารอาหาร ในเมล็ด เปลี่ยนแปลงไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย โปรตีนเป็นกรดอะมิโนแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคลส และไขมันเป็นกรดไขมัน เพราะกระบวนการงอกได้ช่วยย่อยสารอาหารมาแล้วชั้นหนึ่ง  ถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมาก เท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยาหาร ลดของเสียและสิ่งตกค้าง (toxin) ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ร่างกายจึงเสื่อมช้า ไม่แก่เร็ว
           ถั่วงอกย่อยง่ายจะมีความสำคัญสำหรับใครแค่ไหน ต้องพิจารณาแบบแผนการกินโดยรวมของผู้นั้นประกอบไปด้วย คิดแต่ถั่วงอกแต่เดียวโดดๆ ไม่ได้สำหรับนักมังสวิรัติถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ประสานสอด คล้องกับผักและอาหารมังสวิรัติอื่นๆ ในทิศทางที่เกื้อต่อสุขภาพโดยรวม หากผู้ใดมีแบบแผนการกินที่พาเอาแต่อาหารย่อยยาก
อาหารมีพิษเข้าร่างกายการกินถั่วงอกในบางครั้งก็ไม่มีทางแก้ร้ายให้เป็นดี ถั่วงอกมีโปรตีนสูงกว่าถั่วธรรมดาหรือไม่ นักนิยมถั่วและเมล็ดงอกมักอ้างว่า กระบวนการงอกทำให้ปริมาณโปรตีนมีสูงขึ้น แต่หลักฐานสนับสนุนยังไม่แข็งแรงมีน้ำหนักนัก ผลการวิจัยที่ยอมรับกันกว้างขวางมีเฉพาะเมล็ดข้าวโพดงอก ซึ่งพบว่าการงอกทำให้มีกรดโปรตีนที่จำเป็นสำหรับร่างกายเพิ่มมากขึ้น (  กรดไลซินและไตรโทปัน ซึ่งไม่พบในเมล็ดข้าวโพดแห้ง  )   อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่าโดยทั่วไปโปรตีนของถั่วงอกมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย (  จาก 2% เป็น 5%  )
 
สลายความแก่ด้วยถั่วงอก
ผักดั้งเดิมที่รู้จักกันมานานแสนนาน ก้อคือ ถั่วงอก มีลักษณะสีขาว ลำต้นยาวๆ ที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่วเขียว วิธีการปลูกก็ไม่ยาก สามารถทำด้วยตัวเองได้ เพียงแค่มีกระกระดาษทิชชูหรือสำลีที่ชุบน้ำหมาดๆ และโรยเมล็ดถั่วเขียวลงไป รออีกไม่กี่วันก็งอกออกมาเป็น ถั่วงอกแล้ว
        เค้าว่ากันว่า ถั่วงอกนั้นถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอาหารของชาวเอเชียเลยทีเดียว เพราะประเทศแรกที่เพาะถั่วงอกหัวโตกินคือประเทศจีน คนจีนโบราณใช้ถั่วเหลืองเป็นแหล่งวิตามินซีในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก โดยเฉพาะกะลาสีเรือที่กินถั่วงอกเพื่อช่วยป้องกันรักษาโรค ลักปิดลักเปิด
        เห็นถั่วงอกเป็นต้นเล็กๆแบบนี้อย่า คิดว่ามันไม่มีคุณค่า คุณค่ามันมีมากเช่น เมื่อเรานำถั่วเหลืองมาเพาะเป็นถั่วงอกจะมีวิตามินซีสูง ส่วนโปรตีนในถั่วงอกจะมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย นอกจากนั้นก็มีวิตามินบี12 ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ถั่วงอกมีธาตุเหล็กที่ร่างกายย่อยง่ายกว่าผักอื่นๆ และยังมีวิตามินบี 17 และสารเลซิธิน ที่ช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง
และที่น่าสนใจที่สุดคือ สำหรับหนุ่ม-สาวที่ไม่อยากแก่เร็ว ขอบอกว่าถั่วงอกมีสารต้านความแก่คือ ออซินอน มีคุณสมบัติทำให้ร่างกายไม่แก่เร็วเกินไปก่อนเวลาอันควรและช่วยชลอความแก่ อีกด้วย
        เนื่องจากว่าถั่วงอกให้วิตามินซีสูง การแพทย์จีนจึงนำถั่วงอกหัวโตไปต้มในแกงจืดกิน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่งและขับปัสสาวะ ส่วนโมเลกุลของสารอาหารในเมล็ดถั่วงอกในร่างกายเราสามารถเปลี่ยนแปลงไปอยู่ ในลักษณะที่ร่างกายย่อยง่าย โปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคส และไขมันเป็นกรดเรียบร้อยแล้ว ถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่ายมาก ดังนั้นการรับประทานถั่วงอกจะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก ลดของเสียและสิ่งตกค้างในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ก็ทำให้ร่างกายเสื่อมช้า ไม่แก่เร็ว
 

เทคนิคในการเพาะถั่วงอก
1. การเลือกเมล็ดถั่วเขียว ควรเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดีไม่ใหม่หรือ เก่าเกินไป อายุการเก็บรักษาประมาณ 3-6 เดือน
2. ภาชนะเพาะถั่วงอก มีให้เลือกหลายแบบและหลายชนิด ขึ้นอยู่ กับวิธีการเพาะและการใช้วัสดุเพาะ แต่ที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอกควร เป็นภาชนะผิวเรียบทรงตรง หรือปากแคบเล็กน้อย เพื่อเป็นการจำกัดพื้นที่ ในการงอกของเมล็ดถั่วเขียวจะทำให้ถั่วงอกมีลักษณะอวบอ้วนมากขึ้นและ ภาชนะควรมีสีดำ หรือสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง และข้อสำคัญภาชนะต้อง สะอาดก่อนนำไปเพาะถั่วงอกทุกครั้ง
3. การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ การแช่เมล็ดก่อนเพาะเป็นการช่วย เร่งให้ระยะเวลาเพาะถั่วงอกเร็วขึ้น ในกรณีที่เพาะหลายครั้งแล้วถั่วงอกยัง เน่าอยู่ ไม่แน่ใจว่าเมล็ดมีเชื้อโรคติดมาหรือไม่ ให้แช่เมล็ดในน้ำคลอรีนก่อน โดยใช้คลอรีนผง 1/2-1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 1 ชั่วโมง เพื่อล้าง เชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด หลังจากนั้นจึงแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 55-60 องศา- เซลเซียส อีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง จุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ในชั่วโมง แรกของการแช่น้ำของเมล็ด จะมีเมล็ดบางส่วนพองตัวอย่างรวดเร็ว เมล็ด ลักษณะนี้จะเป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย และเมล็ดที่เสื่อม คุณภาพ ต้องล้างหรือเก็บออกให้หมด รวมทั้งเมล็ดแตกด้วย เพราะเมล็ด เหล่านี้จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถั่วงอกเน่า ดังนั้น การล้างเมล็ดในช่วงนี้ เพื่อจะช่วยให้เมล็ดถั่วเขียวมีความงอกสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น
4. น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการงอกของเมล็ด ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำประปาหรือถ้าเป็นน้ำบาดาลต้องปล่อยทิ้งให้เย็นและตกตะกอนก่อนนำมาใช้รด ถั่วงอก การให้น้ำถั่วงอกนอกจากใช้ในการเจริญเติบโตแล้ว ยัง ใช้ในการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจระหว่างการเจริญเติบโต ของต้นอ่อนภายในภาชนะด้วยการให้น้ำ ควรให้อย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณที่มากพอ กล่าวคือให้จน กระทั่งน้ำที่ไหลออกมาทางก้นภาชนะเย็นเท่ากับน้ำที่รดให้ การให้น้ำเพียง เล็กน้อย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถั่วงอกเน่าได้ เพราะเกิดการสะสมความ ร้อนในภาชนะ 
http://www.the-than.com/samonpai/P/28.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น